โรงเรียนสมานคุณวิทยาทาน เป็นโรงเรียนราษฎร์ของวัด ตั้งขึ้นตามระเบียบว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ของวัด พุทธศักราช ๒๔๘๘ มูลเดิม นายประดิษฐ์ ดิษยะศริน เจ้าของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยา ได้ขอล้มเลิกกิจการ เนื่องจากไม่สิ้นปีการศึกษาได้นำนักเรียนมาอาศัยเรียนศาลาการเปรียญวัดโคกสมานคุณ เพื่อให้นักเรียนสอบไล่เสร็จ พระครูสมานคุณารักษ์ เจ้าอาวาส พระมหากลิ่น ศรนรินทร์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้ให้ความสำคัญการศึกษาและความลำบากที่นักเรียนจะต้องเดินทางไปเรียนที่จังหวัดสงขลา
จึงได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งโรงเรียนราษฎร์ของวัด ได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ รับเฉพาะนักเรียนชายและพระภิกษุสามเณร โดยมีคณะกรรมการโรงเรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด มีพระครูสมานคุณารักษ์ เป็นเจ้าของ พระมหากลิ่น ศรนรินทร์ เป็นผู้จัดการ นายอาภรณ์ สุทธกรณ์ เป็นครูใหญ่ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ รับนักเรียนชายและพระภิกษุสามเณรที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ อายุไม่ต่ำกว่า ๑๑ ปี และไม่เกิน ๓๐ ปี ปีแรกมีนักเรียน ๓๐ คน ครู ๓ คน
ปี พ.ศ.๒๔๙๓ ได้ก่อสร้างโรงเรียน ๑ หลัง ๒ ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างโล่ง จำนวน ๑๐ ห้องเรียน ขณะที่กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเกิดพายุพัดพังลงมาทั้งหลัง พระมหากลิ่น ศรนรินทร์ ผู้จัดการโรงเรียนได้รายงานความเสียหายไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอความช่วยเหลือ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) โดยก่อสร้างอาคารไม้สองชั้น ขนาด ๑๐ ห้องเรียน ตามแบบ ป.๔ และคุณพระเสน่หามนตรี อุบาสกวัดโคกสมานคุณ บริจาคเงินเพิ่มอีก ๕๐,๐๐๐บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) เปิดใช้อาคารเรียน เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ (อาคาร ๑ ปัจจุบัน)
· ปี พ.ศ.๒๕๐๒ นายเอียด สุวรรณะ ได้รับบริจาคเงินสร้างอาคาร ๒ (ปัจจุบันรื้อถอน) จำนวน ๔ ห้องเรียน และโรงเรียนได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล
· ปี พ.ศ.๒๕๑๘ อนุญาตรับนักเรียนหญิง จัดเป็นสหศึกษา (เพราะภิกษุ สามเณรมีน้อย)
· ปี พ.ศ.๒๕๑๘ แต่งตั้ง พระราชรัตนดิลก เป็นเจ้าของโรงเรียน เนื่องจากพระครูสมานคุณารักษ์มรณภาพ
· ปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับอนุญาตรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
· ปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับการเปลี่ยนแปลงวันหยุดประจำสัปดาห์ จากวันพระและวันอาทิตย์มาเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์
· ปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้แต่งตั้ง สิบโทคิน หนูสอน เป็นครูใหญ่ เนื่องจากนายอาภรณ์ สุทธกรณ์ ลาออกเนื่องจากสูงอายุ เพื่อพักผ่อน
· ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับอนุญาตให้ พระโสภณปริยัติยาภรณ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต เนื่องจาก พระเทพมุนีมรณภาพ
· ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ยกเลิกค่าธรรมเนียมการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖
· ปี พ.ศ.๒๕๔๐ ยกเลิกค่าธรรมเนียมการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๒
· ปี พ.ศ.๒๕๔๑ ยกเลิกค่าธรรมเนียมการเรียนชั้นประถมศึกษา – ชั้นมัธยมศึกษา
· ปี พ.ศ.๒๕๔๑ ได้แต่งตั้ง นายชนินทร์ ศรีจันทร์ เป็นผู้จัดการโรงเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้แต่งตั้ง นายนภดล ชูพูล เป็นผู้จัดการโรงเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับอนุญาตรับนักเรียนชั้นอนุบาล ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓
· ปี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้แต่งตั้ง นายพิพัตน์ เสนาพิทักษ์กุล เป็นผู้จัดการ
· ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ได้แต่งตั้ง นายพิพัตน์ เสนาพิทักษ์กุล เป็นผู้อำนวยการ
· ปี พ.ศ.๒๕๔๗ เปลี่ยนแปลงผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต จาก พระราชวีราภรณ์ เป็น พระเทพวีราภรณ์ เนื่องจากได้เลื่อนสมณศักดิ์
· ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๓๒๔ ล/๒๗ ของกรมสามัญศึกษา
· ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับอนุญาตขยายความจุนักเรียนทั้งโรงเรียนไม่เกิน ๒,๒๒๖ คน จำนวน ๔๕ ห้องเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) สมศ.นักเรียนและผู้บริหารในระดับดี
· ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับอนุญาตขยายความจุนักเรียนทั้งโรงเรียนไม่เกิน ๒,๔๐๐ คน จำนวน ๔๙ ห้องเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ได้แต่งตั้งผู้ช่วยครูใหญ่ จำนวน ๔ ท่าน
๑. นายบรรหาร จีนนุกูล เป็นผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายปกครอง
๒. นางนิดา สุทธกรณ์ เป็นผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายวิชาการ
๓. นางอัญชลี พวงสุวรรณ์ เป็นผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ – การเงินฝ่ายบริการและฝ่ายบุคลากร
๔. นายธนากร ธนบัตร เป็นผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายกิจการนักเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับอนุญาตใช้อักษร ส.ค. (S.K.) เป็นอักษรย่อประจำโรงเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ได้แต่งตั้งผู้บริหาร ดังนี้
๑. นายบรรหาร จีนนุกูล ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ
๒. นางนิดา สุทธกรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
๓. นางอัญชลี พวงสุวรรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไปและฝ่ายบุคลากร
๔. นายธนากร ธนบัตร รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้แต่งตั้งผู้บริหาร ดังนี้
๑. นายบรรหาร จีนนุกูล ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ
๒. นางนิดา สุทธกรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
๓. นางอัญชลี พวงสุวรรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไปและฝ่ายบุคลากร
๔. นายธนากร ธนบัตร รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน
๕. นายทวียศ ใหม่ทุ่ม รองผู้อำนวยการฝ่ายอาคารสถานที่
· ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับอนุญาตขยายความจุนักเรียนทั้งโรงเรียนไม่เกิน ๒,๔๐๐ คน จำนวน ๕๔ ห้องเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้ก่อสร้างอาคารห้องประกอบการ จำนวน ๑ หลังและหลังคาโค้งระหว่างอาคารพระราชรัตนดิลก ๘๗ ปี กับอาคารพระเทพวีราภรณ์
· ได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ.รอบสอง อยู่ในระดับดี
· ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับอนุญาตขยายความจุนักเรียนทั้งโรงเรียน ๒,๘๘๕ คน จำนวน ๕๖ ห้องเรียน
· ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เปลี่ยนแปลงผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต จาก พระธรรมวงศาจารย์ เป็น พระศรีรัตนวิมล
|